คำว่า กฎหมาย
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
นั้น หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ
เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามหรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
จากความหมายของกฎหมายข้างต้นสามารถจำแนกลักษณะของกฎหมายได้ 4 ประการ
คือ
1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ หมายความว่า
กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิดทำได้หรือทำไม่ได้
2. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคลความประพฤติในที่นี้ได้แก่การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจซึ่งความประพฤติของมนุษย์ที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายนั้น
3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์
กฎหมายจะมีสภาพบังคับเพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นั้น
โดยสภาพบังคับของกฎหมายมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายและสภาพบังคับที่เป็นผลดี
4.
กฎหมายต้องมีกระบวนการที่แน่นอน
เนื่องจากปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผ่านองค์กรต่าง
ๆ
การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย
กฎหมายแบ่งแยกตามข้อความของกฎหมายได้เป็น 3 ประเภท
(1) กฎหมายมหาชน (Public Law)
(2) กฎหมายเอกชน (Private Law)
(3) กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
สรุป
กฎหมาย คือ
บรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคล
อันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ
ในทางอาญาอาจจะมีโทษปรับเป็นเงินหรือโทษจำคุก
ในทางแพ่งอาจจะถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น