เรื่องจริยธรรมนั้นมีนักปราชญ์ให้ความหมายเอาไว้มาก แนวคิดของแต่ละท่านมีทั้งเหมือนกัน คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ถือว่าเป็นเรื่องนานาทัศนะ
เพราะจริยธรรมเป็นการตีกรอบความประพฤติให้คนในสังคมได้แนวทางปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและอาจกล่าวได้ว่า
จริยธรรมคือเครื่องประดับของบุคคลในสังคมนั้น
ๆ
เพราะเป็นการบ่งบอกถึงลักษณะและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่โดดเด่นให้เห็นได้ชัดเจน
จริยธรรมหมายถึง
ธรรมชาติหรือหลักธรรมที่บุคคลควรประพฤติ
จัดว่าเป็นคุณธรรมที่แสดงออกทางร่างกายในลักษณะที่ดีงามถูกต้อง
อันเป็นสิ่งที่ประสงค์ของสังคมและจริยธรรมจะมีได้จำต้องอาศัยหลักคำสอนทางศาสนา อันได้แก่
ศีล ( Precept ) อันหมายถึงหลักหรือกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติเพื่อดัดหรือฝึกหัดกายและวาจาให้เรียบร้อย ให้เป็นปกติ
กล่าวคือ
จะพูดหรือทำสิ่งใดให้เป็นไปตามธรรมชาติ
อย่าให้ผิดปกติ ( ผิดศีล ) เช่น
พูดให้ถูกต้องให้เป็นธรรม กระทำให้ถูกต้องให้เป็นธรรม เมื่อพูดหรือกระทำให้ถูกต้องและเป็นธรรม ย่อมมีความสุข
ความสบาย เยือกเย็น ไม่เดือดร้อน
จริยธรรม คือ กฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติ โดยได้จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา
วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี
เพื่อเสริมสร้างมนุษย์สมบัติที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม
กล่าวโดยสรุปแล้ว คำว่า
จริยธรรมมาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต
ดังนี้
จริยะ หมายถึง ความประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากการกระทำทางกาย วาจาและใจ
จริยะ หมายถึง ความประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากการกระทำทางกาย วาจาและใจ
ธรรมะ หมายถึง
คำสั่งสอนในทางศาสนาที่มนุษย์นำมาเป็นสื่ออุปกรณ์ เพื่อข้ามไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม
ดังนั้น จริยธรรม หมายถึง
การปฏิบัติตนตามคำสอนในทางศาสนาเพื่อความถูกต้องดีงามของชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น